ทำไมลงเสาเข็มแล้ว แต่ส่วนต่อเติมก็ยังทรุด? ส่วนต่อเติมพาบ้านร้าวไปด้วย ทำอย่างไรดี? ถ้าไม่อยากให้สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นกับท่าน เราอยากให้ท่านลองอ่านเทคนิคเหล่านี้ที่วิศวกรใช้สักนิด รับรองคุ้มค่าแน่นอนครับ
หลายท่านคงพบเจอปัญหาเกี่ยวกับการทรุดตัวของส่วนต่อเติมอยู่บ่อยครั้ง และเมื่อเกิดปัญหาลุกลามไปถึงโครงสร้างหลักแล้ว ครั้นจะหาคนรับผิดชอบก็คงจะเป็นเรืองยาก วันนี้เข็มเหล็กจึงขอนำเสนอ 3 เทคนิคของการต่อเติมบ้านที่วิศวกรทำกัน ว่าควรต่อเติมอย่างไรให้ไม่เกิดการทรุดตัว หรือทรุดตัวน้อยที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันปัญหาตั้งแต่ต้นเหตุ จะมีอะไรบ้างนั้น ไปดูกันเลยครับ
แยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านโดยสิ้นเชิง เทคนิคข้อแรกและสำคัญที่สุดในการป้องกันการทรุดของส่วนต่อเติมที่จะมาสร้างปัญหาให้กับโครงสร้างหลัก เราขอแนะนำให้แยกโครงสร้างออกจากตัวบ้าน ไม่ใช้ผนังร่วมกัน หรือฝากโครงสร้างไว้กับตัวบ้าน
ให้ท่านใช้วิธีแยกจ๊อยต์ (Joint) ซึ่งหมายถึง การตัดแบ่งชิ้นส่วนหรือพื้นที่ใดๆ ออกจากกันให้มีลักษณะเป็นรอยต่อ เพื่อแยกโครงสร้างออกจากกันโดยสิ้นเชิง
ตัวอย่าง ในการต่อเติมพื้นที่จอดรถภายในบ้าน จากภาพจะแยกพื้นที่ต่อเติมออกจากตัวบ้านเพื่อป้องกันการทรุดที่ไม่เท่ากัน เพราะหากเกิดการทรุดของส่วนต่อเติม จะดึงรั้งตัวบ้านทำให้เกิดการฉีกขาดนั่นเอง
"วิธีนี้สำคัญมาก เป็นสิ่งที่วิศวกรเน้นย้ำอยู่เสมอ"
ให้ใช้วิธีการใช้โฟมกั้นระหว่างรอยต่อก่อนทำการยาแนวด้วย PU หรือ Silicone หรือตามภาพ คือ ทำจ๊อยต์โดยการแยกพื้นจากตัวบ้านแล้วโรยกรวดปิดร่องที่เว้นเอาไว้ให้เสมอกัน
เทคนิคต่อไป ลงเสาเข็มที่เหมาะกับงานต่อเติม นอกจากการแยกโครงสร้างออกจากกันแล้ว เสาเข็มที่จะลงก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยลดการทรุดตัวลงได้อย่างมหาศาล ควรเลือกเสาเข็มที่เหมาะกับงานต่อเติมนั้นๆ และให้ความแข็งแรงมั่นคง รับน้ำหนักได้ดี ที่สำคัญต้องมีรายการคำนวณรับรองตามหลักวิศวกรรมโดยวิศวกร รวมไปถึงการเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีน้ำหนักเบา และ มีการวางที่กระจาย โดยให้น้ำหนักเท่าๆกันทั่วห้อง ก็จะช่วยลดการทรุดหรือเอียงในส่วนที่ต่อเติมได้เช่นกัน
ซึ่งการเลือกเสาเข็มที่เหมาะสมกับงานต่อเติมนั้น จะแตกต่างกันไปตามลักษณะโครงสร้าง สภาพดิน รวมไปถึงชั้นดิน ตามภาพตัวอย่าง ชั้นดินภายในกรุงเทพฯและปริมณฑล ส่วนมากจะเป็นชั้นดินเลนอยู่ด้านล่างที่มีลักษณะค่อนข้างอ่อน กลับกันพื้นดินในต่างจังหวัดส่วนมากมีลักษณะเป็นชั้นดินแข็ง อย่างไรก็แล้วแต่ การเลือกขนาดและชนิดของเสาเข็มก็ขึ้นอยู่กับรายการคำนวณตามหลักวิศวกรรม เพื่อความมั่นคงและปลอดภัยของบ้านท่าน เข็มเหล็กจึงมีการคำนวณก่อนลงเสาทุกต้นโดยวิศวกรที่มีประสบการณ์ด้านฐานรากมากว่า 10 ปี
ไม่ใช้เสาเข็มร่วมกับตัวบ้าน สำหรับเทคนิคในข้อนี้จะคล้ายๆกับข้อแรก คือ การต่อเติมควรแยกโครงสร้างออกจากตัวบ้านรวมไปถึงเสาเข็มด้วยเช่นกัน เพราะหากลงเสาเข็มเพียงด้านเดียว ส่วนอีกด้านนำไปฝากไว้กับตัวบ้าน หรือใช้เสาเข็มร่วมกับตัวบ้าน จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ง่าย เนื่องจากการลงเสาเข็มในส่วนที่ต่อเติมส่วนใหญ่แล้วจะลงสั้นกว่าเสาเข็มของตัวบ้าน ซึ่งเมื่อเกิดการทรุดจะทำให้ในส่วนของการต่อเติมเอียงและไปดึงรั้งกับตัวบ้าน จนทำให้เกิดการฉีกขาด เสียหายนั่นเอง
ติดต่อเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาเรื่องฐานรากกับผู้เชี่ยวชาญ หรือซื้อเข็มเหล็กได้เลยที่
- Website KEMREX
- Facebook : @Kemrexfanpage
- Line@ : @KEMREX
- โทร. 02-026-3140
Comments