top of page
Search

แรงสั่นสะเทือน ตัวการที่ทำให้บ้านทรุด

จากการเติบโตที่ก้าวกระโดดของเศรษฐกิจในยุคดิจิทัล ส่งผลให้อัตราการจ้างงาน การขยายสาขา โรงงานหรือสำนักงานเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งมักจะกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองใหญ่ ประชากรต้องเดินทางเข้ามาทำงานในเมือง ความต้องการในปัจจัย 4 จึงเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ก่อให้เกิดการก่อสร้างบ้านเรือนและอาคารต่างๆ เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยและสถานที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดมลภาวะทางเสียงและแรงสั่นสะเทือน ส่งผลกระทบทั้งต่อมนุษย์และอาคารต่างๆ ในบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งยากที่จะหลีกเลี่ยงได้ จริงหรือ?


ในกระบวนการก่อสร้างอาคารจำเป็นต้องมีการวางฐานรากของโครงสร้างต่าง ๆ เพื่อใช้เป็น ตัวกลางถ่ายน้ำหนักของตัวบ้านลงสู่พื้นดิน ซึ่งการตอกเสาเข็มปูนเพื่อวางฐานรากเสาเข็มนั้น นับเป็นอีกสาเหตุที่ทําให้เกิดแรงสั่นสะเทือน ทั้งนี้ปัจจัยที่มีผลต่อการเคลื่อนตัวและแรงสั่นสะเทือนของดิน ได้แก่ อุปกรณ์ตอกเสาเข็ม เสาเข็ม คุณสมบัติของดินและชั้นดิน ระยะห่าง และคุณสมบัติของอาคาร นับเป็นสิ่งสําคัญสิ่งหนึ่งที่วิศวกรหรือผู้รับเหมาก่อสร้างต้องให้ความสําคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนการก่อสร้าง เพื่อให้อาคารมีความแข็งแรง เนื่องจากเสียงและแรงสั่นสะเทือนจากการก่อสร้าง จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งต่อตัวอาคาร สิ่งก่อสร้างบริเวณใกล้เคียง และผู้คนในละแวกนั้นอีกด้วย



อันตรายจากแรงสั่นสะเทือน

จากงานวิจัยพบว่า แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มสามารถส่งผลต่ออาคารบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง โดยผลผลกระทบที่เกิดกับอาคารมักจะแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตามผนังอาคารจะมีรอยร้าว ซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของอาคาร และหากอาคารมีการทรุดตัวมากจะทําให้อาคารนั้นพังทะลายลงมาได้

นอกจากนี้ในขณะตอกเสาเข็ม ดินส่วนหนึ่งจะถูกแทนที่ด้วยปริมาณเท่ากับปริมาตรของเสาเข็ม เมื่อดินถูกแทนที่จะเกิดการปรับตัวให้แน่นขึ้น ยิ่งมีการแทนที่เสาเข็มลงในดิน และเกิดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ การเคลื่อนตัวทั้งสองแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อเสาเข็มปูนที่ติดตั้งไปแล้ว ยิ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงและเสาเข็มที่ตอกไปแล้วก่อนหน้านี้มากขึ้น

ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรบางประเภทที่ไวต่อการสั่นไหว ส่วนผลกระทบที่เกิดกับมนุษย์จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือการทำงาน เช่น ทําให้สูญเสียการได้ยิน เกิดภาวะเครียด นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีสมาธิในการทำงาน เป็นต้น


จากงานวิจัยพบว่า แรงสั่นสะเทือนจากการตอกเสาเข็มสามารถส่งผลต่ออาคารบริเวณใกล้เคียงพื้นที่ก่อสร้าง โดยผลผลกระทบที่เกิดกับอาคารมักจะแสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนว่าตามผนังอาคารมีรอยร้าว ซึ่งเกิดจากการทรุดตัวของอาคาร และหากอาคารมีการทรุดตัวมากจะทําให้อาคารนั้นพังทะลายลงมาได้
	นอกจากนี้ในขณะตอกเสาเข็ม ดินส่วนหนึ่งจะถูกแทนที่ด้วยปริมาณเท่ากับปริมาตรของเสาเข็ม เมื่อดินถูกแทนที่จะเกิดการปรับตัวให้แน่นขึ้น ยิ่งมีการแทนที่เสาเข็มลงในดิน และเกิดการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง และการเคลื่อนตัวในแนวราบ การเคลื่อนตัวทั้งสองแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อเสาเข็มปูนที่ติดตั้งไปแล้ว        
ยิ่งสร้างความเสียหายต่อสิ่งก่อสร้างใกล้เคียงและเสาเข็มที่ตอกไปแล้วก่อนหน้านี้มากขึ้น
	ทั้งยังอาจส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรบางประเภทที่ไวต่อการสั่นไหว ส่วนผลกระทบที่เกิดกับมนุษย์จะก่อให้เกิดผลกระทบทั้งทางร่างกายและจิตใจ หรือการทำงาน เช่น ทําให้สูญเสียการได้ยิน เกิดภาวะเครียด นอนไม่หลับ คลื่นไส้อาเจียน ไม่มีสมาธิในการทำงาน เป็นต้น

ตัวเลือกใหม่ที่ดีกว่า

จะดีกว่าไหม? ถ้าเราจะไม่ต้องเสี่ยงกับอันตรายจากแรงสั่นสะเทือนของการตอกเสาเข็มอีกต่อไป ด้วย "เข็มเหล็ก" นวัตกรรมงานฐานราก ซึ่งพัฒนาองค์ความรู้ด้านงานฐานรากมามากกว่า 10 ปี เพื่อให้คุณมั่นใจในผลิตภัณฑ์เข็มเหล็ก มาพร้อมกับเทคโนโลยีการติดตั้งที่ทันสมัย ติดตั้งด้วยวิธีการหมุนคล้ายกับการขันน็อตลงไปในเนื้อไม้ ช่วยลดการเคลื่อนที่ของมวลดิน ไม่ทำให้เกิดเสียงรบกวน อีกทั้งขณะที่ทำการติดตั้งลงไป ดินจะถูกเบียดออกไปด้านข้าง และเข้าไปยึดระหว่างใบเกลียว เสริมความมั่นคงแข็งแรง และความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพสูงสุด


ไม่ก่อให้เกิดแรงสั่นสะเทือน และไม่ก่อให้เกิดเสียงดัง จากการตอกเสาเข็มรูปแบบเดิม ไม่ส่งผล กระทบต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจอันตรายถึงชีวิตได้ "เข็มเหล็ก" ตัวเลือกที่ดีกว่าในเรื่องงานฐานราก ให้คุณมั่นใจกับความปลอดภัยทั้งต่อตัวคุณและสิ่งก่อสร้าง


ลงเสาเข็มอย่างปลอดภัย ไร้แรงสั่นสะเทือน ติดต่อเข็มเหล็กเลย

- Chat website KEMREX

- โทร. 02-026-3140

- Facebook : @Kemrexfanpage

- Line@ : @KEMREX

bottom of page